พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
พระอู่ทอง เนื้อ...
พระอู่ทอง เนื้อชินเงิน กรุอาวาสใหญ่ จ.กำแพงเพชร สภาพสวยเดิม มีหน้าตา ไม่ผ่านการใช้ครับ
วัดอาวาสใหญ่เป็นโบราณสถานขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองทางด้านทิศเหนือที่เป็นเขตอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชร ผังของตัววัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก สิ่งก่อสร้างภายในวัดใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลัก

ข้อมูลสำคัญของโบราณสถานวัดอาวาสใหญ่โดยสรุปดังนี้ครับ
1.ข้อมูลจากพระราชนิพนธ์เสด็จประภาสต้น
พระราชนิพนธ์ “เสด็จประพาสต้น” ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ระบุถึงการเสด็จประพาสต้นครั้งที่ ๒ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๔๙ โดยได้เสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชรโบราณในเขตอรัญญิก ในวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๙ และได้ทรงมีพระราชนิพนธ์บรรยายเกี่ยวกับโบราณสถานวัดอาวาสใหญ่ ดังนี้
“…ต่อนั้นไปจึงถึงวัดใหญ่ซึ่งมีวิหารอย่างเดียวกัน กลางเป็นรูปไม้สิบสอง จะเป็นเจดีย์ฤๅปรางค์อันใดพังเสียฤๅไม่แล้ว ด้านหลังก็เป็นวิหารใหญ่อีกหลังหนึ่ง ในลานวัดนั้นเต็มไปด้วยพระเจดีย์ ที่เป็นฐานเดียวกันหลายๆ องค์บ้างองค์เดียวบ้าง ลักษณะเดียวกับวัดหน้าพระธาตุลพบุรีแลวัดพระมหาธาตุเมืองนครศรีธรรมราชจะเป็นวัดอื่นนอกจากวัดหน้าพระธาตุไม่ได้เลย วัดนี้ดูบริบูรณ์มากกว่าวัดอื่น ซุ้มประตูใหญ่น้อยก็ยังมี ข้างหน้าวัดมีสระ ๔ เหลี่ยม กว้างยาวลึกประมาณสัก ๕ วา ขุดลงไปในแลงเหมือนอ่างศิลา ไม่มีรอยก่อเลย มีห้องฝาแลงกั้นสำหรับพระสรงน้ำ คงจะใช้โพงคันชั่ง น้ำในนั้นมีบริบูรณ์ใช้ได้อยู่จนบัดนี้...”
การเสด็จประพาสหัวเมืองเหนือที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์เรื่อง “เที่ยวเมืองพระร่วง” ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๕๐ ได้เสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชรโบราณในเขตอรัญญิก ในระหว่างวันที่ ๑๕ – ๑๗มกราคม พ.ศ.๒๔๕๐ และได้ทรงมีพระราชนิพนธ์บรรยายเกี่ยวกับโบราณสถานวัดอาวาสใหญ่ ดังนี้
“…ทั้งที่กำแพงและที่ประตูมีรูปสลักเป็นยักษ์บ้าง เทวดาบ้าง ฝีมือการแกะสลักงดงามน่าดูมาก…บ่อนั้นหาได้มีสิ่งอะไรก่อเป็นผนังไม่ ที่แผ่นดินตรงนั้นเป็นแลง ขุดบ่อลงไปในแลง ข้าง ๆ บ่อนั้น พอถูกอากาศก็แข็งเป็นศิลา จึงดูเหมือนก่อเรียบร้อย เพราะฉะนั้นเป็นของควรดูอย่างหนึ่งและเมื่อดูแล้วจะออกรู้สึกอิจฉาว่าเขาทำบ่อได้ดีและถาวร...”
“วัดอาวาสใหญ่” เป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญยิ่งในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จากหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความรุ่มรวยในทรัพยากรการก่อสร้าง ความปราดเปรื่องในสรรพวิชางานฝีมือที่ปรากฏให้เห็นเป็นงานด้านสถาปัตยกรรม ตลอดจนเรื่องราวที่ถูกบันทึกผ่านทางประวัติศาสตร์โบราณคดี ล้วนแล้วแต่เป็นประจักษ์พยานของความเจริญรุ่งเรืองในอดีตของแผ่นดินเมืองกำแพงเพชรได้เป็นอย่างดี.

2.เจดีย์ประธานของวัดอาวาสใหญ่ ปัจจุบันพังทลายลงเเล้ว เหลือเฉพาะส่วยฐาน ทางกรมศลปากรได้สันนิฐานรูปแบบเจดีย์ว่า ฐานเจดีย์ประธานของวัดอาวาสใหญ่มีความคล้ายกับฐานเจดีย์ประธานของวัดเจดีย์สูงและวัดศรีพิจิตรกิรติกัลยารามที่เมืองสุโขทัย สันนิษฐานได้ว่าส่วนยอดของเจดีย์ประธานของวัดอาวาสใหญ่อาจมีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบวัดเจดีย์สูงและวัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม

3.วัดแห่งนี้มีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ คือบ่อสามเสน ซึ่งใช้พลีกรรมน้ำในบ่อนี้เพื่อใช้ในพิธีบรมราชาภิเษก

4.วัดเเห่งนี้มีกุฎิพระที่ทำจากศิลาเเลงหลายหลัง เข้าใจว่าเป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษา ซึ่งเป็นเพียงไม่กี่วัดยังปรากฎสิ่งก่อสร้างลักษณะเช่นนี้

+++มีภาพเพิ่มเติมด้านล่างครับ+++
ผู้เข้าชม
180 ครั้ง
ราคา
-
สถานะ
มาใหม่
โดย
ชื่อร้าน
สุรินทร์ภักดี พระเครื่อง
ร้านค้า
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
surinphakdee
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
686-2-299xx-x

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
ErawanBAINGERNNithipornKumpangBoy114vanglanna
เทพจิระพล ปากน้ำบู๊ วีริชเจริญสุขน้ำตาลแดงChatcentralpraramsam
นิธิพัฒน์พลปลั๊ก ปทุมธานีfuchoo18อ้วนโนนสูงtermboonKshop
เธียรnattapong939โกหมูพระเครื่องโคกมนep8600ศิษย์บูรพา
เปียโนtangmoLeoมงคลเก้าLeksoi8Spiderman

ผู้เข้าชมขณะนี้ 1202 คน

เพิ่มข้อมูล

พระอู่ทอง เนื้อชินเงิน กรุอาวาสใหญ่ จ.กำแพงเพชร สภาพสวยเดิม มีหน้าตา ไม่ผ่านการใช้ครับ




  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
พระอู่ทอง เนื้อชินเงิน กรุอาวาสใหญ่ จ.กำแพงเพชร สภาพสวยเดิม มีหน้าตา ไม่ผ่านการใช้ครับ
รายละเอียด
วัดอาวาสใหญ่เป็นโบราณสถานขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองทางด้านทิศเหนือที่เป็นเขตอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชร ผังของตัววัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก สิ่งก่อสร้างภายในวัดใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลัก

ข้อมูลสำคัญของโบราณสถานวัดอาวาสใหญ่โดยสรุปดังนี้ครับ
1.ข้อมูลจากพระราชนิพนธ์เสด็จประภาสต้น
พระราชนิพนธ์ “เสด็จประพาสต้น” ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ระบุถึงการเสด็จประพาสต้นครั้งที่ ๒ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๔๙ โดยได้เสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชรโบราณในเขตอรัญญิก ในวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๙ และได้ทรงมีพระราชนิพนธ์บรรยายเกี่ยวกับโบราณสถานวัดอาวาสใหญ่ ดังนี้
“…ต่อนั้นไปจึงถึงวัดใหญ่ซึ่งมีวิหารอย่างเดียวกัน กลางเป็นรูปไม้สิบสอง จะเป็นเจดีย์ฤๅปรางค์อันใดพังเสียฤๅไม่แล้ว ด้านหลังก็เป็นวิหารใหญ่อีกหลังหนึ่ง ในลานวัดนั้นเต็มไปด้วยพระเจดีย์ ที่เป็นฐานเดียวกันหลายๆ องค์บ้างองค์เดียวบ้าง ลักษณะเดียวกับวัดหน้าพระธาตุลพบุรีแลวัดพระมหาธาตุเมืองนครศรีธรรมราชจะเป็นวัดอื่นนอกจากวัดหน้าพระธาตุไม่ได้เลย วัดนี้ดูบริบูรณ์มากกว่าวัดอื่น ซุ้มประตูใหญ่น้อยก็ยังมี ข้างหน้าวัดมีสระ ๔ เหลี่ยม กว้างยาวลึกประมาณสัก ๕ วา ขุดลงไปในแลงเหมือนอ่างศิลา ไม่มีรอยก่อเลย มีห้องฝาแลงกั้นสำหรับพระสรงน้ำ คงจะใช้โพงคันชั่ง น้ำในนั้นมีบริบูรณ์ใช้ได้อยู่จนบัดนี้...”
การเสด็จประพาสหัวเมืองเหนือที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์เรื่อง “เที่ยวเมืองพระร่วง” ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๕๐ ได้เสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชรโบราณในเขตอรัญญิก ในระหว่างวันที่ ๑๕ – ๑๗มกราคม พ.ศ.๒๔๕๐ และได้ทรงมีพระราชนิพนธ์บรรยายเกี่ยวกับโบราณสถานวัดอาวาสใหญ่ ดังนี้
“…ทั้งที่กำแพงและที่ประตูมีรูปสลักเป็นยักษ์บ้าง เทวดาบ้าง ฝีมือการแกะสลักงดงามน่าดูมาก…บ่อนั้นหาได้มีสิ่งอะไรก่อเป็นผนังไม่ ที่แผ่นดินตรงนั้นเป็นแลง ขุดบ่อลงไปในแลง ข้าง ๆ บ่อนั้น พอถูกอากาศก็แข็งเป็นศิลา จึงดูเหมือนก่อเรียบร้อย เพราะฉะนั้นเป็นของควรดูอย่างหนึ่งและเมื่อดูแล้วจะออกรู้สึกอิจฉาว่าเขาทำบ่อได้ดีและถาวร...”
“วัดอาวาสใหญ่” เป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญยิ่งในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จากหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความรุ่มรวยในทรัพยากรการก่อสร้าง ความปราดเปรื่องในสรรพวิชางานฝีมือที่ปรากฏให้เห็นเป็นงานด้านสถาปัตยกรรม ตลอดจนเรื่องราวที่ถูกบันทึกผ่านทางประวัติศาสตร์โบราณคดี ล้วนแล้วแต่เป็นประจักษ์พยานของความเจริญรุ่งเรืองในอดีตของแผ่นดินเมืองกำแพงเพชรได้เป็นอย่างดี.

2.เจดีย์ประธานของวัดอาวาสใหญ่ ปัจจุบันพังทลายลงเเล้ว เหลือเฉพาะส่วยฐาน ทางกรมศลปากรได้สันนิฐานรูปแบบเจดีย์ว่า ฐานเจดีย์ประธานของวัดอาวาสใหญ่มีความคล้ายกับฐานเจดีย์ประธานของวัดเจดีย์สูงและวัดศรีพิจิตรกิรติกัลยารามที่เมืองสุโขทัย สันนิษฐานได้ว่าส่วนยอดของเจดีย์ประธานของวัดอาวาสใหญ่อาจมีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบวัดเจดีย์สูงและวัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม

3.วัดแห่งนี้มีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ คือบ่อสามเสน ซึ่งใช้พลีกรรมน้ำในบ่อนี้เพื่อใช้ในพิธีบรมราชาภิเษก

4.วัดเเห่งนี้มีกุฎิพระที่ทำจากศิลาเเลงหลายหลัง เข้าใจว่าเป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษา ซึ่งเป็นเพียงไม่กี่วัดยังปรากฎสิ่งก่อสร้างลักษณะเช่นนี้

+++มีภาพเพิ่มเติมด้านล่างครับ+++
ราคาปัจจุบัน
-
จำนวนผู้เข้าชม
181 ครั้ง
สถานะ
มาใหม่
โดย
ชื่อร้าน
สุรินทร์ภักดี พระเครื่อง
URL
เบอร์โทรศัพท์
0870081414
ID LINE
surinphakdee
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกสิกรไทย / 686-2-299xx-x




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี